16 April 2013

การเรียกเปิดแอพฯอื่นๆ ด้วย Intent

Updated on


        สำหรับบทความนี้ก็เป็นการสั่งให้เปิดแอพอื่นๆในเครื่องก็เหมือน Shortcut น่ะแหละ ซึ่งต่างจากบทความเดิมที่เคยกล่าวมา เพราะอันนั้นเป็นการเปิดแอพฯอื่นๆ เพื่อใช้งานบางอย่างเท่านั้น แต่คราวนี้เป็นการเปิดแอพฯที่เหมือนกับกดเปิดจากไอคอนแอพฯ

        สำหรับการ Intent เพื่อเปิดแอพฯ จะต้องระบุเป็นชื่อแพคเกจของแอพฯนั้นๆ ดังนั้นผู้ที่หลงเข้ามาอ่านก็ต้องรู้ก่อนว่าแอพฯที่จะให้เปิดมี Package Name ว่าอะไร ในกรณีที่เป็นแอพฯของผู้ที่หลงเข้ามาอ่านเอง ก็ไม่ยากเพราะเป็นคนตั้งเอง แต่ถ้าเป็นแอพฯอื่นๆ ที่มีอยู่ใน Play Store เจ้าของบล็อกมีวิธีเช็คดูได้เช่นกัน โดยให้เปิดหน้าเว็ป Google Play แล้วไปยังหน้าดาวน์โหลดของแอพฯนั้นๆ เช่นเจ้าของบล็อกอยากรู้ชื่อแพคเกจของแอพฯ Instragram ก็เปิดหน้านั้นเลย



        ให้สังเกตที่ URL ของเว็ปหน้านั้นๆ ดูต่อท้ายจาก details?id= จนถึงก่อน & (ถ้ามี) นั่นก็คือ Package Name ของแอพฯนั้นๆ จากตัวอย่างก็คือ com.instagram.android

        ทีนี้ก็มาดูการใช้ Package Name เพื่อระบุแอพฯที่จะให้ Intent เพื่อเปิดแอพฯนั้นๆ ต่อเลย
Intent intent = getPackageManager().getLaunchIntentForPackage(packageName);

        ที่ช่อง packageName ก็คือ Package Name ที่ต้องการ ดังนั้นก็จะได้ออกมาเป็นแบบนี้
Intent intent = getPackageManager().getLaunchIntentForPackage(com.instagram.android);

        และอย่าลืมว่าแอพฯอื่นๆ ก็ย่อมมีหลาย Activity เช่นกัน เพื่อความชัวร์ ก็ให้กำหนดเพิ่มลงไปด้วยว่าให้รัน Activity ที่กำหนดเป็น Launcher
intent.addCategory(Intent.CATEGORY_LAUNCHER);

แล้วก็ใช้คำสั่ง startActivity ได้เลย (ไม่ต้องใช้ startActivityForResult)
startActivity(intent);

สรุปก็จะมีคำสั่งทั้งหมดดังนี้
Intent intent = getPackageManager().getLaunchIntentForPackage(packageName);
intent.addCategory(Intent.CATEGORY_LAUNCHER);
startActivity(intent);

        แต่ให้ลองนึกเล่นๆดูด้วยว่า ถ้าเครื่องนั้นๆไม่ได้ลงแอพฯที่จะ Intent ละ? ผลก็คือเมื่อก่อนเพื่อเปิดแอพฯนั้นๆ ก็จะเกิด Null Pointer Exception เพราะว่าระบบจะหาแอพฯดังกล่าวไม่เจอ ดังนั้นเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็จะให้เด้งไปที่หน้าดาวน์โหลดแอพฯนั้นๆ แทน โดยใช้คำสั่งดังนี้

Intent intent = new Intent(Intent.ACTION_VIEW);
intent.setData(Uri.parse("market://details?id=" + packageName));
startActivity(intent);

        ถ้าใครยังจำกันได้คำสั่งนี้ก็คือคำสั่งเปิด URL นั่นเอง แต่จะเห็นว่าเจ้าของบล็อกได้กำหนดเป็น market://details?id นำหน้า ซึ่งก็คือเป็น URL สำหรับเปิดหน้าดาวน์โหลดนั้นๆจาก Play Store ดังนั้นถ้าแอพฯดังกล่าวยังไม่มีในเครื่องก็จะให้ไปหน้าดาวน์โหลดแทน



        ดังนั้นโค๊ดทั้งหมดก็จะใช้ Try Catch เข้ามาช่วยเป็นดังนี้

try {
    Intent intent = getPackageManager().getLaunchIntentForPackage(packageName);
    intent.addCategory(Intent.CATEGORY_LAUNCHER);
    startActivity(intent);
} catch (NullPointerException e) {
    Intent intent = new Intent(Intent.ACTION_VIEW);
    intent.setData(Uri.parse("market://details?id=" + packageName));
    startActivity(intent);
}

        จากเดิมก็จะให้ใช้ Intent เพื่อไปเปิดแอพฯที่ได้กำหนดไว้ ถ้าเครื่องที่ใช้ยังไม่มีแอพฯดังกล่าว ก็จะเกิด NullPointerException แต่เนื่องจากได้ใช้ Try Catch ดัก NullPointerException ไว้อยู่แล้ว ก็จะให้ทำการเปิดหน้าดาวน์โหลดแอพฯนั้นๆ ใน Play Store แทน


        ทีนี้ก็มาดูโค๊ดตัวอย่างในบทความนี้กันเลยดีกว่า

main.xml
<LinearLayout xmlns:android="http://schemas.android.com/apk/res/android"
    xmlns:tools="http://schemas.android.com/tools"
    android:layout_width="match_parent"
    android:layout_height="match_parent"
    android:orientation="vertical"
    android:gravity="center" >

    <Button
        android:id="@+id/buttonFacebook"
        android:layout_width="140dp"
        android:layout_height="140dp"
        android:background="@drawable/icon_facebook" />

    <Button
        android:id="@+id/buttonYoutube"
        android:layout_width="140dp"
        android:layout_height="140dp"

        android:background="@drawable/icon_youtube" />
    
    <Button
        android:id="@+id/buttonEvernote"
        android:layout_width="140dp"
        android:layout_height="140dp"
        android:background="@drawable/icon_evernote" />

</LinearLayout>


        ส่วน Layout ก็ไม่มีอะไรมาก แค่ Button สามอัน แต่เป็น Custom Button เพราะใช้ปุ่มธรรมดาๆมาหลายบทความล่ะ เปลี่ยนบ้างละกัน



icon_facebook.xml
<?xml version="1.0" encoding="utf-8"?>
<selector xmlns:android="http://schemas.android.com/apk/res/android" >
    <item android:state_pressed="true" 
        android:drawable="@drawable/icon_facebook_pressed" />
    <item android:state_pressed="false" 
        android:drawable="@drawable/icon_facebook_normal" />
    <item android:drawable="@drawable/icon_facebook_normal" />
</selector>


icon_youtube.xml
<?xml version="1.0" encoding="utf-8"?>
<selector xmlns:android="http://schemas.android.com/apk/res/android" >
    <item android:state_pressed="true" 
        android:drawable="@drawable/icon_youtube_pressed" />
    <item android:state_pressed="false" 
        android:drawable="@drawable/icon_youtube_normal" />
    <item android:drawable="@drawable/icon_youtube_normal" />
</selector>


icon_evernote.xml
<?xml version="1.0" encoding="utf-8"?>
<selector xmlns:android="http://schemas.android.com/apk/res/android" >
    <item android:state_pressed="true" 
        android:drawable="@drawable/icon_evernote_pressed" />
    <item android:state_pressed="false" 
        android:drawable="@drawable/icon_evernote_normal" />
    <item android:drawable="@drawable/icon_evernote_normal" />
</selector>


Main.java
package app.akexorcist.intentanotherapp;

import android.net.Uri;
import android.os.Bundle;
import android.app.Activity;
import android.content.Intent;
import android.view.View;
import android.view.View.OnClickListener;
import android.widget.Button;

public class Main extends Activity {
    Button buttonFacebook, buttonEvernote, buttonYoutube;
    
    protected void onCreate(Bundle savedInstanceState) {
        super.onCreate(savedInstanceState);
        setContentView(R.layout.main);

        buttonFacebook = (Button)findViewById(R.id.buttonFacebook);
        buttonFacebook.setOnClickListener(new OnClickListener() {
            public void onClick(View v) {
                String packageName = "com.facebook.katana";
                startApp(packageName);
            }
        });
        
        buttonYoutube = (Button)findViewById(R.id.buttonYoutube);
        buttonYoutube.setOnClickListener(new OnClickListener() {
            public void onClick(View v) {
                String packageName = "com.google.android.youtube";
                startApp(packageName);
            }
        });
        
        buttonEvernote = (Button)findViewById(R.id.buttonEvernote);
        buttonEvernote.setOnClickListener(new OnClickListener() {
            public void onClick(View v) {
                String packageName = "com.evernote";
                startApp(packageName);
            }
        });
    }
    
    public void startApp(String packageName) {
        try {
            Intent intent = getPackageManager().getLaunchIntentForPackage(packageName);
            intent.addCategory(Intent.CATEGORY_LAUNCHER);
            startActivity(intent);
        } catch (NullPointerException e) {
            Intent intent = new Intent(Intent.ACTION_VIEW);
            intent.setData(Uri.parse("market://details?id=" + packageName));
            startActivity(intent);
        }
    }
}

        จากโค๊ดตัวอย่างนี้จะเห็นว่า เนื่องจาก Button ทั้งสามตัวคำสั่งคล้ายกัน แต่มีจุดต่างอยู่ก็คือชื่อแพคเกจที่ต้องการจะกำหนดใน Intent เท่านั้นเอง เจ้าของบล็อกก็เลยรวมไว้เป็นฟังก์ชันอีกตัวหนึ่งแทน ประหยัดบรรทัดดี โดยกำหนดชื่อฟังก์ชันเป็น startApp และกำหนดให้มี Input ของฟังก์ชัน เป็นตัวแปร String เพื่อที่เวลาเรียกใช้จะต้องมีการกำหนดชื่อแพคเกจด้วย แล้วก็จะนำตัวแปรที่กำหนดชื่อตัวแปรว่า packageName ไปกำหนดค่า โดยกำหนดเป็นชื่อแพคเกจแทนที่ใน Try และ Catch ทั้งคู่เลย

AndroidManifest.xml
<?xml version="1.0" encoding="utf-8"?>
<manifest xmlns:android="http://schemas.android.com/apk/res/android"
    package="app.akexorcist.intentanotherapp"
    android:versionCode="1"
    android:versionName="1.0" >

    <uses-sdk
        android:minSdkVersion="7"
        android:targetSdkVersion="8" />

    <application
        android:allowBackup="true"
        android:icon="@drawable/ic_launcher"
        android:label="@string/app_name"
        android:theme="@style/AppTheme" >
        <activity
            android:name="app.akexorcist.intentanotherapp.Main"
            android:label="@string/app_name" >
            <intent-filter>
                <action android:name="android.intent.action.MAIN" />

                <category android:name="android.intent.category.LAUNCHER" />
            </intent-filter>
        </activity>
    </application>

</manifest>


        สำหรับผู้ที่หลงเข้ามาอ่านคนใดที่ต้องการไฟล์ตัวอย่าง สามารถดาวน์โหลดได้จาก
                • Intent Another App [Google Drive]
                • Intent Another App [GitHub]
                • Intent Another App [Sleeping For Less]



บทความที่เกี่ยวข้อง

        การใช้ Intent สำหรับแชร์ข้อความ String [Send]
        การใช้ Intent สำหรับแชร์ข้อความสำหรับ Email [Send]
        การใช้ Intent เพื่อเปิด URL [View]
        การใช้ Intent เพื่อเปิดแผนที่ [View]
        การใช้ Intent เพื่อเปิดไฟล์ใดๆ [View]
        การเรียกเปิดแอพฯอื่นๆ ด้วย Intent
        การใช้ Intent สำหรับแชร์ไฟล์ใดๆ [Send]
        การเลือกไฟล์ภาพจาก Gallery ด้วย Intent [Result]
        การใช้งานกล้องเพื่อถ่ายภาพแบบง่ายๆด้วย Intent [Result]
        การใช้งานกล้องเพื่อบันทึกวีดีโอแบบง่ายๆด้วย Intent [Result]
        การอ่าน QR Code และ Barcode ด้วย Intent [Result]
        การรับข้อมูล Intent จากแอพฯอื่นๆ [Get Content]
        การรับข้อมูล Intent จากแอพฯอื่นแล้วส่งข้อมูลกลับไป [Result Content]