สำหรับหน้าจอ AMOLED ที่ผู้ที่หลงเข้ามาอ่านหลายๆคนรู้คุ้นเคยกันดีบน Smartphone หรือ Tablet โดยเฉพาะยี่ห้อ Samsung ซึ่ง AMOLED ย่อมาจากคำว่า Active-Matrix Organic Light-Emitting Diode ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้จอ LED หรือ LCD แบบเดิมๆนั้นคมชัดและสดใสมากขึ้น ซึ่งพูดไปก็เท่านั้น เพราะผู้ที่หลงเข้ามาอ่านหลายๆคนคงจะรู้ดีกันอยู่แล้วว่าสีมันสดมาก คมชัดมาก และอื่นๆอีกมากมาย รวมไปถึงตัวเทคโนโลยีของมันเอง ดังนั้นบทความวันนี้จะไม่ใช่บทความที่จะมานั่งเล่าว่า AMOLED มันคืออะไรหรือมันดียังไง
อาจจะเคยได้ยินกันอยู่แล้วว่าจอ AMOLED จะประหยัดไฟมากกกก ในยามที่แสดงเป็นสีดำ เพราะมันจะไม่ส่องแสงใดๆเลยจึงทำให้แสดงเป็นสีดำมืดสนิท ซึ่งมีผลดีก็คือกินไฟน้อยมาก ดังนั้นมาดูกันว่ามันประหยัดไฟได้สมคำล่ำลือมากแค่ไหน!!
สำหรับเหยื่อทดสอบในบทความนี้ก็เป็น Moto X คู่ใจของเจ้าของบล็อกนะ ซึ่งใช้จอ AMOLED เหมือนกัน โดยก่อนอื่นให้ดูสองรูปนี้กันก่อน
รู้มั้ยว่าทั้งสองรูปนี้มีอะไรที่ต่างกัน?
.
.
.
.
.
.
.
ตำแหน่งของเครื่องต่างกันนิดหน่อย... เอ้ย! ไม่ใช่!! ภาพข้างบนคือเจ้าของบล็อกเปิดหน้าจออยู่แล้วให้แสดงสีดำทั้งหน้าจอ ในขณะที่ภาพข้างล่างคือปิดหน้าจออยู่
อะไรนะ ไม่เชื่อหรอ? งั้นดูภาพต่อไป
แล้วแบบนี้ใครจะไปดูออกล่ะ!!
เพราะว่าตอนแสดงภาพสีดำนี่ไม่มีแสงลอดออกมาจากจอเลยแม้แต่นิดเดียว โดยถ่ายให้ดูทั้งแบบเปิดหน้าจอสีดำทั้งจอและมีบางส่วนเป็นสีขาว
เมื่อเทียบกับจอทั่วๆไปอย่างเช่น Super LCD ของ Nexus S (จริงๆ Nexus S มีรุ่นที่เป็นจอ Super AMOLED ด้วย แต่ที่เจ้าของบล็อกมีเป็น Super LCD) เมื่อนำมาเปิดหน้าจอสีดำในที่มืดก็จะเห็นแสงลอดออกมาอย่างชัดเจน
แล้ว AMOLED มันประหยัดพลังงานได้มากแค่ไหนเชียวล่ะ?
สำหรับคำถามนี้มีแต่ต้องทดสอบดูเท่านั้นแหละ โดยการทดสอบของเจ้าของบล็อกจะใช้วิธีเปิดหน้าจอทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมงแล้วดู % ของแบตเตอรี่ที่ลดลงไป โดยในการทดสอบแต่ละครั้งเจ้าของบล็อกจะชาร์จแบตให้เต็ม 100% ก่อนทดสอบทุกครั้ง
เริ่มจากเปิดหน้าจอสีขาวที่ความสว่างสูงสุดก่อนละกัน
(หน้าจอแสดงสีขาวไม่หมดแฮะ ตรงมุมมีสีดำนิดหน่อยเพราะเจ้าของบล็อกใช้แอพ Roundr อยู่)
เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งชั่วโมง จาก 100% ก็เหลือ 89%
ต่อมาทดสอบด้วยการแสดงหน้าจอสีดำบ้าง โดยปรับความสว่างสูงสุดเหมือนเดิม ปรากฏว่าจาก 100% เหลือ 95% เอง!!
อ่ะยังไม่พอ ขอลองปรับความสว่างต่ำสุดแล้วให้แสดงสีดำเหมือนเดิมดูบ้าง
จาก 100% ก็จะลดเหลือ 96%
กลายเป็นว่าต่างกันเพียงแค่ 1% เท่านั้นเอง!? เปิดสีดำที่ความสว่างสูงสุดทำให้เปลืองแบตมากกว่าแค่ 1% เอง โอ้ว AMOLED นี่มันเทพขริงๆ!!
หมายเหตุ - การทดสอบนี้ได้ทำใน Airplane Mode เพื่อไม่ให้ปัจจัยอื่นๆมารบกวนจนเกินไป
สำหรับความสามารถดังกล่าวของหน้าจอ AMOLED จึงทำให้มือถือบางรุ่นนำมาประยุกต์ใช้เป็นฟีเจอร์เฉพาะตัวอย่างเช่น Moto X เอามาทำ Active Display ที่เป็นหน้าจอ Notification แม้จะล็อคหน้าจออยู่
หรือล่าสุด Samsung Galaxy S5 ได้นำมาประยุกต์ใช้เป็น Ultra Power Saving Mode ที่ทำให้หน้าจอเป็นสีขาวดำทั้งหมดเพื่อให้ประหยัดแบตได้สุดๆ
ดังนั้นลองมาทดสอบกันหน่อยว่าถ้าแสดงข้อความสีขาวๆด้วยจะเป็นยังไง? ดังนั้นเจ้าของบล็อกจึงเพิ่มข้อความสีขาวๆตัวใหญ่ๆเข้าไปเพื่อจำลองการทำงาน
โดยเริ่มจากความสว่างต่ำสุดก่อนละกันเนอะ
แต่ตอนทดสอบดันลืมไปว่าหมุนหน้าจอได้ (ไม่ได้กำหนดทิศทางหน้าจอ) เลยแสดงเป็นแนวนอนดีกว่า จะได้ดูไม่แคบเกิน ฮ่าๆ
ผลที่ได้คือแบตเหลือ 95% ซึ่งต่างจากตอนสีดำทั้งจอเพียง 1% อีกแล้ว!! (บังเอิญไปหรือป่าวเนี่ย..)
ต่อมาทดสอบเหมือนเดิมแต่ว่าความสว่างสูงสุด
ผลที่ได้คือแบตเหลือ 94% ซึ่งต่างจากตอนปรับความสว่างต่ำสุดอยู่ 1% (อีกและ...)
สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ไว้ว่างๆเดี๋ยวจะหาเครื่องอื่นที่ไม่ใช่ AMOLED มาทดสอบเพื่อเปรียบเทียบให้นะ (เดี๋ยวเพิ่มข้อมูลเข้ามาทีหลัง)
เพิ่มเติม - ลองเปิดหน้าจอทิ้งไว้แบบยาวๆแล้วลากไว้ทั้งวันปรากฏว่าได้เกือบครึ่งวันเช่นกัน (ไม่ถึงครึ่งวันเพราะจะใช้เครื่องแล้ว ขี้เกียจรอ)
แบบไม่เปิด Airplane Mode ด้วยล่ะ~ เปิด 4G วิ่งยาวๆเลย อัพเดทจาก Facebook จากนู่นนั่นนี่เด้งตลอด
บทความนี้เจ้าของบล็อกทำขึ้นมาเพื่ออะไร?
คำตอบจริงๆคือ "ว่าง" ครับ แต่ถ้าตอบเอาดูดีมีชาติตระกูลหน่อยก็เอาไว้เป็น Reference ให้กับผู้ที่หลงเข้ามาอ่านที่สงสัยในเรื่องนี้ เพื่อที่จะได้รู้ว่า เอ้ย! มีคนทดสอบให้แล้วนะ และเพื่อคอนเฟิร์มว่ามันมีผลจริงๆครับ (ดูดีป่ะล่ะ!!)
รู้มั้ยว่าทั้งสองรูปนี้มีอะไรที่ต่างกัน?
.
.
.
.
.
.
.
ตำแหน่งของเครื่องต่างกันนิดหน่อย... เอ้ย! ไม่ใช่!! ภาพข้างบนคือเจ้าของบล็อกเปิดหน้าจออยู่แล้วให้แสดงสีดำทั้งหน้าจอ ในขณะที่ภาพข้างล่างคือปิดหน้าจออยู่
อะไรนะ ไม่เชื่อหรอ? งั้นดูภาพต่อไป
แล้วแบบนี้ใครจะไปดูออกล่ะ!!
เพราะว่าตอนแสดงภาพสีดำนี่ไม่มีแสงลอดออกมาจากจอเลยแม้แต่นิดเดียว โดยถ่ายให้ดูทั้งแบบเปิดหน้าจอสีดำทั้งจอและมีบางส่วนเป็นสีขาว
เมื่อเทียบกับจอทั่วๆไปอย่างเช่น Super LCD ของ Nexus S (จริงๆ Nexus S มีรุ่นที่เป็นจอ Super AMOLED ด้วย แต่ที่เจ้าของบล็อกมีเป็น Super LCD) เมื่อนำมาเปิดหน้าจอสีดำในที่มืดก็จะเห็นแสงลอดออกมาอย่างชัดเจน
แล้ว AMOLED มันประหยัดพลังงานได้มากแค่ไหนเชียวล่ะ?
สำหรับคำถามนี้มีแต่ต้องทดสอบดูเท่านั้นแหละ โดยการทดสอบของเจ้าของบล็อกจะใช้วิธีเปิดหน้าจอทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมงแล้วดู % ของแบตเตอรี่ที่ลดลงไป โดยในการทดสอบแต่ละครั้งเจ้าของบล็อกจะชาร์จแบตให้เต็ม 100% ก่อนทดสอบทุกครั้ง
เริ่มจากเปิดหน้าจอสีขาวที่ความสว่างสูงสุดก่อนละกัน
(หน้าจอแสดงสีขาวไม่หมดแฮะ ตรงมุมมีสีดำนิดหน่อยเพราะเจ้าของบล็อกใช้แอพ Roundr อยู่)
เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งชั่วโมง จาก 100% ก็เหลือ 89%
ต่อมาทดสอบด้วยการแสดงหน้าจอสีดำบ้าง โดยปรับความสว่างสูงสุดเหมือนเดิม ปรากฏว่าจาก 100% เหลือ 95% เอง!!
อ่ะยังไม่พอ ขอลองปรับความสว่างต่ำสุดแล้วให้แสดงสีดำเหมือนเดิมดูบ้าง
จาก 100% ก็จะลดเหลือ 96%
กลายเป็นว่าต่างกันเพียงแค่ 1% เท่านั้นเอง!? เปิดสีดำที่ความสว่างสูงสุดทำให้เปลืองแบตมากกว่าแค่ 1% เอง โอ้ว AMOLED นี่มันเทพขริงๆ!!
หมายเหตุ - การทดสอบนี้ได้ทำใน Airplane Mode เพื่อไม่ให้ปัจจัยอื่นๆมารบกวนจนเกินไป
สำหรับความสามารถดังกล่าวของหน้าจอ AMOLED จึงทำให้มือถือบางรุ่นนำมาประยุกต์ใช้เป็นฟีเจอร์เฉพาะตัวอย่างเช่น Moto X เอามาทำ Active Display ที่เป็นหน้าจอ Notification แม้จะล็อคหน้าจออยู่
หรือล่าสุด Samsung Galaxy S5 ได้นำมาประยุกต์ใช้เป็น Ultra Power Saving Mode ที่ทำให้หน้าจอเป็นสีขาวดำทั้งหมดเพื่อให้ประหยัดแบตได้สุดๆ
ดังนั้นลองมาทดสอบกันหน่อยว่าถ้าแสดงข้อความสีขาวๆด้วยจะเป็นยังไง? ดังนั้นเจ้าของบล็อกจึงเพิ่มข้อความสีขาวๆตัวใหญ่ๆเข้าไปเพื่อจำลองการทำงาน
โดยเริ่มจากความสว่างต่ำสุดก่อนละกันเนอะ
แต่ตอนทดสอบดันลืมไปว่าหมุนหน้าจอได้ (ไม่ได้กำหนดทิศทางหน้าจอ) เลยแสดงเป็นแนวนอนดีกว่า จะได้ดูไม่แคบเกิน ฮ่าๆ
ผลที่ได้คือแบตเหลือ 95% ซึ่งต่างจากตอนสีดำทั้งจอเพียง 1% อีกแล้ว!! (บังเอิญไปหรือป่าวเนี่ย..)
ต่อมาทดสอบเหมือนเดิมแต่ว่าความสว่างสูงสุด
ผลที่ได้คือแบตเหลือ 94% ซึ่งต่างจากตอนปรับความสว่างต่ำสุดอยู่ 1% (อีกและ...)
สรุปเป็นตารางได้ดังนี้
ไว้ว่างๆเดี๋ยวจะหาเครื่องอื่นที่ไม่ใช่ AMOLED มาทดสอบเพื่อเปรียบเทียบให้นะ (เดี๋ยวเพิ่มข้อมูลเข้ามาทีหลัง)
เพิ่มเติม - ลองเปิดหน้าจอทิ้งไว้แบบยาวๆแล้วลากไว้ทั้งวันปรากฏว่าได้เกือบครึ่งวันเช่นกัน (ไม่ถึงครึ่งวันเพราะจะใช้เครื่องแล้ว ขี้เกียจรอ)
บทความนี้เจ้าของบล็อกทำขึ้นมาเพื่ออะไร?
คำตอบจริงๆคือ "ว่าง" ครับ แต่ถ้าตอบเอาดูดีมีชาติตระกูลหน่อยก็เอาไว้เป็น Reference ให้กับผู้ที่หลงเข้ามาอ่านที่สงสัยในเรื่องนี้ เพื่อที่จะได้รู้ว่า เอ้ย! มีคนทดสอบให้แล้วนะ และเพื่อคอนเฟิร์มว่ามันมีผลจริงๆครับ (ดูดีป่ะล่ะ!!)