22 December 2012

ซื้อเครื่องมาเขียนเขียนแอพแอนดรอยด์ จะเลือกยังไงดี?

Updated on

        บทความนี้เจ้าของบล็อกจะเปิดเป็นหัวข้อใหม่เลยละกัน เพราะไม่รู้จะเอาไปใส่ในหัวข้อไหนระหว่าง Code กับ Design เลยเปิดใหม่เป็น Tips เอาไว้ลงพวกเรื่องเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆแทน

        สำหรับบทความแรกของหัวข้อนี้เจ้าของบล็อกก็อยากจะขอพูดถึง เรื่องสำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นเขียนโปรแกรมแอนดรอยด์ ที่ไม่ค่อยจะมีคนพูดถึงกัน นั่นก็คือเรื่องของมือถือที่จะซื้อมาเพื่อหัดเขียนโปรแกรมแอนดรอยด์นั่นเอง เรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ใครหลายๆคนมองข้ามไปแม้แต่นักพัฒนาบางคน


        ถามตัวเองก่อนเลยว่า

        "มีเงินมั้ย?" และ "จริงจังกับการพัฒนามากแค่ไหน?"

        ถ้ามีเงินซื้อหรือจริงจังที่จะเป็นนักพัฒนาแอนดรอยด์ก็แนะนำให้ซื้อไว้ใช้ซักเครื่อง เพราะการใช้ Emulator นั้นไม่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาแอพได้ครบครันเท่าเครื่องจริง รวมไปถึงการใช้งานด้วย

        แต่ถ้าต้องการแค่เขียนแอพซักตัวส่งการบ้านหรือแค่ส่งโปรเจคแล้วก็เลิก ก็ใช้ Emulator ก็ได้นะ (เว้นแต่ว่าต้องใช้งานบางฟีเจอร์ที่ไม่สามารถทำใน Emulator ได้)


        เจ้าของบล็อกอยากจะเน้นว่า

        "ไม่ควรซื้อเครื่องสเปคต่ำราคาถูกจนเกินไป เพียงเพราะว่า มันก็ใช้พัฒนาได้เหมือนกัน"

        เพราะสเปคเครื่องจะล้าสมัยในเร็ววัน โหลดแอพมาลองเล่นก็จะอืด หรือไม่รองรับการทำงานบางอย่าง รวมไปถึงการลองคำสั่งที่มาในเวอร์ชันใหม่ๆ ก็อาจจะทำไม่ได้เพราะไม่มีให้อัพเดทเวอร์ชันใหม่ๆ

        เมื่อเครื่องมันห่วยทำอะไรไม่ค่อยได้ เราก็จะไม่ค่อยได้ใช้มันเช่นกัน ทำให้ไม่มีประสบการณ์จากการใช้งานจริง เวลาเขียนแอพก็ไม่รู้ว่าเครื่องทำอะไรได้บ้าง

        ดังนั้นอย่างน้อยก็ควรมีต้นทุนซัก 6,000 บาทขึ้นไป เพื่อซื้อเครื่องดีๆซักเครื่อง ถ้ามีงบเยอะก็จัดเต็มที่ชอบเลย เพราะประสบการณ์ที่ได้มันก็จะดียิ่งขึ้นไปอีก


        ตอบได้ไม่ยากนัก เพราะว่า

        "เลือกซื้อเครื่องที่ชาวบ้านเค้าใช้กัน"

        ดูไกด์ไลน์การเลือกซื้อเครื่องตามผู้ใช้ทั่วไปได้เลย ไม่ต้องซีเรียสมากนักว่าจะต้องเลือกซื้อเครื่องสำหรับนักพัฒนาโดยเฉพาะ ดูที่ฮาร์ดแวร์และฟีเจอร์ที่ตัวเครื่องนั้นๆ เช่น เซ็นเซอร์ที่มากับเครื่อง (แต่เอาเข้าจริงเจ้าของบล็อกก็เห็นแต่คนใช้แค่ Accelerometer), ขนาดหน้าจอ เวอร์ชันของแอนดรอยด์ เป็นต้น

        เอาง่ายๆก็ให้คิดว่าตัวเองเป็นคนซื้อธรรมดาๆที่อยากได้แอนดรอยด์ดีๆซักเครื่องนั่นแหละครับ


        จบท้ายนี้ถ้าผู้ที่หลงเข้ามาอ่านคนใดตัดสินใจได้แล้ว และจะไปซื้อเครื่อง เมื่อซื้อเครื่องมาแล้ว เจ้าของบล็อกอยากจะบอกฝากท้ายอยู่อย่างนึง คือ

        จงใช้ซะ จงเล่นซะ ใช้ให้เป็น ใช้ให้เข้าใจ แล้วเรียนรู้จากตัวเองเพื่อนำมาพัฒนาแอพให้ดียิ่งขึ้น


        เพิ่มเติม - ในกรณีที่เป็นพัฒนาแอปพลิเคชันแอนดรอยด์แบบเต็มตัว และอยากจะหาเครื่องแอนดรอยด์มากกว่าหนึ่งเครื่องขึ้นไปเพื่อทดสอบแอปพลิเคชัน แนะนำให้อ่านบทความนี้แทน [Android Dev Tips] การซื้อเครื่องสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันแอนดรอยด์