22 October 2013

การซื้อเครื่องสำหรับนักพัฒนาแอปพลิเคชันแอนดรอยด์

Updated on

        อัพเดทเนื้อหา 30 กรกฎาคม 2557 (30/07/2014)

        สำหรับบทความนี้อาจจะคุ้นตากันมาแล้วนะครับ ว่าเคยเขียนไปแล้วม คราวนี้ไม่ใช่บทความสำหรับผู้ที่หลงเข้ามาอ่านที่เป็นมือใหม่กัน แต่จะเป็น "บทความสำหรับผู้ที่หลงเข้ามาอ่านที่ต้องการเป็นนักพัฒนาจริงๆ"


        เพราะต้องบอกกันก่อนว่าถ้าอยากจะเป็นนักพัฒนาแอนดรอยด์จริงๆนั้น การที่มีอุปกรณ์แอนดรอยด์อยู่เครื่องเดียวก็คงไม่เพียงพออยู่แล้ว ก็ต้องมีเครื่องที่มากกว่าหนึ่งเครื่องเอาไว้ทดสอบแอปพลิเคชันกัน แต่จะซื้อยังไงให้ครอบคลุม ซื้อยังไงให้ไม่สิ้นเปลืองเงินเกินจำเป็น?

        ก่อนอื่นเลย คอนเซปต์ของบทความนี้คือ เน้นไม่แพง แต่คุ้มค่า ดังนั้นเลิกคิดได้เลยว่าเจ้าของบล็อกจะแนะนำให้ไปซื้อเครื่องแพงๆ

        สำหรับเครื่องในการเลือกซื้อเจ้าของบล็อกจะอิงดังนี้
                         • Phone ขนาดเล็กสเปคต่ำ Low-end

                        • Phone คุณภาพดี Mid หรือ Hi-end

                        • Tablet 7 นิ้ว

                        • Tablet 10 นิ้ว

        สาเหตุที่แบ่งเป็นสี่ส่วนหลักๆก็เพื่อที่ว่าจะได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่รองรับได้ทั้ง Phone, Tablet 7 และ Tablet 10 ตามมาตรฐานของอุปกรณ์แอนดรอยด์นั่นเอง

        หมายเหตุ - เครื่องที่ไม่ได้ใช้เป็นเครื่องหลัก แค่เอามาทดสอบแอปก็ไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องศูนย์มือหนึ่งก็ได้นะ จะซื้อเป็นเครื่องนอกหรือเครื่องมือสองก็ได้ เพื่อที่จะได้ช่วยลดต้นทุนในค่าเครื่องเหล่านี้ได้พอสมควร และเนื่องจากไม่ได้ใช้งานเป็นหลัก โอกาสเสียตามอายุจึงน้อยกว่า ดังนั้นถึงซื้อมือหนึ่งไป อาจจะใช้แค่ไม่กี่ครั้งก็หมดประกันแล้วด้วยซ้ำ

        การซื้อเครื่องมือสองหรือเครื่องนอกควรซื้อด้วยความระมัดระวัง ถ้าผู้ที่หลงเข้ามาอ่านไม่มีประสบการณ์มากนักก็ให้ศึกษาก่อนหรือหาคนที่รู้จักที่เล่นทางด้านนี้อยู่แล้วคอยปรึกษาก็ได้

        สำหรับเจ้าของบล็อกแล้ว เครื่องที่เทสก็ไม่จำเป็นต้องเป็นมือหนึ่ง ขอแค่ว่าทดสอบได้ตามปกติที่เครื่องควรจะเป็นก็พอแล้ว ราคาถูกก็ยิ่งดี แต่ตอนซื้อเครื่องเหล่านี้ต้องเช็คให้ละเอียดพอสมควร ตอนแรกๆเจ้าของบล็อกก็ดูไม่เป็นหรอก จึงเริ่มจากตัวถูกๆก่อน จากนั้นก็ค่อยหาดูมาเรื่อยๆ จนมั่นใจพอสมควร


        แต่ก่อนจะอ่านต่อก็ขอให้เข้าใจกันก่อนนะว่า บทความนี้เหมาะกับผู้ที่หลงเข้ามาอ่านที่ต้องใช้กำลังทรัพย์ของตนเองในการซื้อเครื่องมาพัฒนาแอปพลิเคชัน แต่ถ้าเป็นบริษัทที่สามารถซื้อเครื่องให้ใช้ทดสอบได้อยู่แล้วก็ไม่ต้องสนใจเรื่องราคาก็ได้ เน้นรุ่นที่นิยมใช้กันเป็นหลัก เพื่อ Point การพัฒนาให้รองรับโดยตรงเลยจะดีกว่า


        สำหรับการเลือกซื้อเครื่องเพื่อใช้พัฒนาแอปพลิเคชัน เจ้าของบล็อกแบ่งเป็นลำดับในการเลือกซื้อง่ายๆดังนี้


        ข้อนี้ให้ความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งก่อนเลย เพราะการที่จะเป็นนักพัฒนาที่ดีได้ ก็ควรจะใช้เครื่องให้เป็นก่อน เจ้าของบล็อกก็ไม่เคยเห็นนักพัฒนาที่ไม่เคยใช้งานมาก่อนแล้วเขียนแอปพลิเคชันดีๆออกมาได้นะ เพราะพื้นฐานการออกแบบแอปพลิเคชันที่ดีนั้นมาจากการที่เข้าถึงผู้ใช้ได้ง่าย สะดวก และใช้งานได้จริง ถ้าตัวนักพัฒนาเองยังใช้ไม่เป็น ก็เลิกพูดถึงผู้ใช้คนอื่นๆได้เลย

        ทีนี้ผู้ที่หลงเข้ามาอ่านควรซื้อเครื่องอะไรล่ะ? อันนี้โนคอมเม้นนะครับ ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ขอแค่ว่าเป็นเครื่องที่สเปคดีพอตัว และใช้ประจำก็พอ ถ้าพิจารณาสเปคไม่เป็นก็หาดูตามเว็ปข้อมูลเรื่องมือถือก็ได้ หรือดูจากบทความที่เจ้าของบล็อกทำคร่าวๆก็ได้นะ [Android Dev Tips] จะซื้อเครื่องมาเขียนโปรแกรมแอนดรอยด์ตัวไหนถึงจะดีนะ?

        ณ จุดนี้ไม่จำกัดว่าจะเป็น Phone หรือ Tablet แบบไหนก็ได้ เอาเป็นว่าผู้ที่หลงเข้ามาอ่านซื้อมาแล้วใช้ประจำนี่แหละ เนื่องจากแอนดรอยด์ที่บอกไว้ในคอนเซปต์มี 4 เครื่อง ซื้อแบบไหนไว้ใช้งานเป็นหลักก็ตัดเครื่องนั้นๆออกในคอนเซปต์ได้เลย

        (เจ้าของบล็อกใช้ Galaxy Nexus เป็นหลัก ดังนั้นตัด Phone สเปคดีออก ตอนนี้ก็จะเหลือแค่ Phone สเปคต่ำแล้วก็ Tablet 7 กับ Tablet 10)


        กรณีที่มีเครื่องประจำตัวแล้ว ข้ามไปได้เลย

        สำหรับ Phone ระดับปานกลางจนถึงสูง ก็รู้ๆกันว่าราคาสูงประมาณหนึ่ง ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณหนึ่งหกพันบาทจนถึงสองหมื่นขึ้นไป แต่สำหรับเจ้าของบล็อก เครื่องในหัวข้อนี้ ตัวแรกสุดขอแนะนำเป็น LG Nexus 4 เหตุผลคือเป็น Pure Android ที่ได้รับการอัพเกรดล่าสุดตลอด รองรับการทำงานต่างๆได้ค่อนข้างครอบคลุมพอสมควร (แต่ก็ไม่ได้ที่สุด) และราคาต่ำกว่าชาวบ้าน โดยเครื่องมือหนึ่งเลิกพูดถึงได้เลย ตอนนี้เหลือแต่มือสองแล้ว ราคาก็ราวๆ 5000 - 6000 แต่ถ้าอยากได้ถูกๆหาซื้อเครื่องที่จอเสียหรือแตกแล้วมาสั่งจอเปลี่ยนเองก็ได้นะเออ (รุ่นยอดนิยมจอแตก)


        แต่ข้อเสียที่ควรรู้ไว้ก่อนของ Nexus 4 คือ

        • จอแตกแล้วหน้าจอแตะไม่ได้ ขึ้นอยู่กับดวงว่าทั้งจอหรือครึ่งจอ ซึ่งก็ตกแล้วจอแตกง่ายเหลือเกิน และล่าสุดเจอปัญหาหน้าจอช่วง Nav Bar อยู่ดีๆก็กดไม่ติด (แต่ส่วนอื่นใช้ได้ปกติ)

        • ไม่รองรับ USB Host (โดยตรง) ทำให้ไม่สามารถเอา OTG มาต่อ แล้วใช้งานเหมือนเครื่องอื่นๆได้ (ต้องทำวิธีทางอ้อมถึงจะใช้ได้ ซึ่งยุ่งยากไปหน่อย)

        ดังนั้นถ้าผู้ที่หลงเข้ามาอ่านรับข้อเสียจุดนี้ไม่ได้ก็ข้ามไป


        ตัวถัดมาก็เป็นตัวที่เรียกได้ว่าเป็นรุ่นยอดนิยมในตอนนี้เลยก็ว่าได้ นั่นก็คือ Asus ZenFone 5 ที่มีสเปคแรงพอสมควร มีเซ็นเซอร์พื้นฐานระดับหนึ่ง (ถึงแม้จะไม่มากเท่าตระกูล Nexus หรือตัว Flagship ของแต่ละค่าย) ที่น่าสนใจคือมี Bluetooth 4.0 ให้มาด้วย เพราะงั้นถ้าเอามาพัฒนาสำหรับ Wearable Device ก็เหมาะไม่น้อย แต่เสียดายที่ไม่มี NFC แต่ก็ยังได้จอ 5 นิ้วความละเอียด 1280 x 720 px นี่แหละ สำหรับราคาก็อยู่ที่ 4,990 และ 5,990 บาทเท่านั้น นี่ราคามือหนึ่งแล้วนะ!!


        ข้อเสียของ Asus ZenFone 5

                • มีแต่เซ็นเซอร์พื้นฐานเท่านั้น รวมไปถึงไม่มี NFC

                • ไม่มีละ เพราะราคามันถูกเกินจนไม่รู้ว่าจะมีข้อเสียอะไรดี


        แต่ช้าก่อน!! แค่นั้นยังไม่พอ มี Asus ZenFone 4 อีกตัวที่แนะนำ จริงๆก็ตัดสินใจยากอยู่ว่าจะเอาไปไว้ในตัวเครื่องเล็กสเปคต่ำดีหรือป่าว เพราะว่าสเปคมันใช้ได้อยู่เหมือนกัน แต่ราคาเทียบเคียงกับเครื่องเล็กสเปคต่ำด้วยซ้ำ โดยสเปครวมๆจะต่ำจาก Asus ZenFone 5 ลงมาอีกหน่อย รวมไปถึงหน้าจอด้วยเช่นกัน (เหลือ 4 กับ 4.5 นิ้ว ความละเอียด 800  x 600 px) แต่อย่างอื่นก็ใกล้เคียงกันและยังมี Bluetooth 4.0 มาให้เหมือนเดิม โดยราคาจะอยู่ที่ 2,990 และ 3,990 แต่โดยส่วนตัวแนะนำ 3,990 มากกว่า เพราะเป็นรุ่นย่อยที่มีหน้าจอใหญ่ขึ้น (เพิ่มเป็น 4.5 นิ้ว จากเดิม 4 นิ้ว) และให้แบตเยอะขึ้น


        ข้อเสียก็เหมือนๆกับ Asus ZenFone 5 นั่นแหละ ด้วยราคาเพียงแค่นี้เจ้าของบล็อกถือว่าคุ้มพอตัวแล้วล่ะ (แต่แนะนำ Asus ZenFone 5 มากกว่า) เอ้อ ตัวนี้กล้องไม่ค่อยโอเคซักเท่าไร (แต่เทียบกับตัวอื่นที่ราคาใกล้เคียงกันก็ยังโอเคกว่าอยู่ดี)


        อีกตัวหนึ่งที่ดูน่าจะคุ้มค่าก็คงจะเป็น Huawei Honor 3C ที่เป็นคู่สร้างคู่สม เอ้ย! คู่ท้าชนกับ Asus ZenFone 5 สเปคใกล้เคียงกันมาก ราคาสูงกว่านิดเดียว แต่ก็หาซื้อได้ยากพอๆกันนั่นแหละ แถมมี Notification Light มาให้ซะด้วย สนนราคาแค่ 6,490 บาท




        Phone คุณภาพดีเจ้าของบล็อกใช้เป็น Motorola Moto X



        กรณีที่มีเครื่องประจำตัวเป็นหัวข้อนี้แล้วให้ข้ามไปเลย

        สำหรับ Tablet ขนาดหน้าจอในช่วง 7 นิ้ว เป็น Tablet ที่นิยมใช้งานกันมากในตอนนี้ แม้กระทั่ง Tablet ที่มาจากจีนก็เช่นกัน

        เป็น Tablet ที่มีไว้ใช้งานด้วยการถือมือเดียวเป็นหลัก สำหรับพกพาไปที่ไหนเหมือนหนังสือเล่มหนึ่ง โดยจะเรียกกันว่าขนาด Large (ตามขนาดหน้าจอ)

        ตัวแรกสุดก็ขอแนะนำเป็น Tablet 7 นิ้วที่ดูคุ้มค่าที่สุดก่อนละกันนั่นก็คือ Asus FonePad 7 (FE170CG) Tablet โทรได้และรองรับ 3G จาก Asus นั่นเอง สำหรับ FonePad มีหลายรุ่นนะ ออกมากี่ทีก็ FonePad 7 ทั้งนั้น ดังนั้นให้ดูที่รหัสรุ่นละกันนะ ข้อดีก็คือสเปคดีในราคาถูก มีกล้องหน้าหลังให้ใช้งานได้ครบครัน รองรับ 2 Sim และมี Bluetooth 4.0 มาให้ด้วย (Asus ใจปล้ำจริงๆ) แถมได้กิน KitKat เสียด้วย (ชอบ Zen UI ตัวใหม่ด้วยล่ะ) สนนราคาตอนนี้อยู่ที่ 4,190 บาท


        ข้อเสียสำหรับ AsusnFone Pad 7 ตัวนี้ก็คงจะเป็นที่ความละเอียดหน้าจอ 1024 x 600 px ละมั้ง น้อยไปหน่อย แต่เวลาดีไซน์แอปพลิเคชันก็มีขนาดเท่ากับ 1280 x 800 ของรุ่นอื่นๆน่ะแหละ

        ต่อมาคือ Asus Nexus 7 รุ่นปี 2012 ที่โดนโล๊ะแล้ว แต่ถึงจะโดนโล๊ะ แต่ก็อยู่อัพเกรดได้อีกยาวนานแบบสบายๆ โดยราคาในตอนนี้เหลือแต่รุ่น 3G ที่มีราคาประมาณ 5,000 - 5,900 บาท และถ้าหารุ่น WiFi มือสองได้ก็จะถูกกว่านี้อีก!!


        สำหรับข้อเสียของ Nexus 7 รุ่นปี 2012 ก็คือ มันดันไม่มีกล้องหลัง!!

        สำหรับ Tablet 7 ของเจ้าของบล็อกนั้นเป็น Nexus 7 (2012)




        ไม่แนะนำให้หัวข้อนี้เป็นเครื่องประจำตัวโดยเด็ดขาด

        สำหรับเครื่องเล็กสเปคต่ำมีไว้สำหรับทดสอบแอปที่ผู้ที่หลงเข้ามาอ่านอยากให้รองรับกับตลาดกลุ่มนี้ด้วย แต่อย่าคิดจะใช้เป็นเครื่องประจำตัวเด็ดขาดเชียวล่ะ เพราะจะพลาดกับประสบการณ์การใช้งานที่ดีไป

        ในมุมมองของนักพัฒนาอาจจะมองว่า เครื่องสเปคต่ำๆแบบนี้จะซื้อไปทำไม เปลี่ยนไปซื้อเครื่องดีๆกว่านี้หน่อยดีกว่าอีก แต่เอาเข้าจริงแล้ว ก็ยังมีกลุ่มตลาดระดับนี้มากพอสมควรนะ ดังนั้นถ้าทำให้รองรับกับกลุ่มนี้ด้วยก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับแอป เว้นแต่ว่าไม่สามารถทำให้รองรับได้จริงๆ ก็ค่อยว่ากัน

        สำหรับเครื่องเล็ก สเปคต่ำส่วนมากจะรู้กันอยู่แล้วว่าเครื่องเหล่านี้จะถูกลดสเปคลงมาจากเครื่องระดับกลาง ตัดคุณสมบัตินู่นออก ตัดความสามารถนี้ออก จนเหลือเครื่องที่มีราคาถูกมากๆ เอาไว้รองรับตลาดล่าง

        ดังนั้นในจุดนี้จึงมองว่า ไม่จำเป็นต้องเครื่องมือหนึ่งก็ได้ แต่ว่าก็จะมีปัจจัยอื่นๆอยู่ด้วยว่าควรซื้อแบบไหน เช่น เครื่องรุ่นเก่ากับเครื่องรุ่นใหม่ ถึงแม้จะเป็นเครื่องเล็กสเปคต่ำเหมือนกันก็ตาม แต่ระหว่างรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ก็ยังต่างกันอยู่ ง่ายๆเลยก็คือเวอร์ชันแอนดรอยด์นั่นเอง เครื่องรุ่นเก่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าตันที่ 2.3.6 ในขณะที่รุ่นใหม่ๆทำออกมารองรับยัน 4.2 ก็มี ดังนั้นก็แล้วแต่จะเลือกแล้วล่ะว่าอยากรองรับแบบไหน เพราะเครื่องเก่าสเปคก็จะต่ำเวอร์เกินจนไม่น่าทำให้รองรับ แต่ในขณะเดียวกันก็ดันมีคนใช้เยอะพอสมควรเหมือนกัน


        เริ่มจากตัวแรกลองดูที่ Samsung Galaxy Young ตัวนี้จะราคาอยู่ที่ 3,990 บาท ราคาถูกตามสเปค



        ที่ตลกคือ ดันใส่ Ram มาให้ 768 MB (ปกติ 512 MB)


        ต่อมาเป็น SONY Xperia E เครื่องเล็กๆราคา 4,990 แพงกว่า Samsung Galaxy Young ไปหน่อย




        หรือจะเป็น OPPO Find Melody ที่ราคา 3,990 บาท


        ข้อดีคือมีกล้องหน้าหลังครบ และแฟลช LED



        ถ้าเอาคุ้มราคาสุดๆนะ แนะนำ Acer Liquid Z3 ตัวนี้ราคาเพียงแค่ 2,590 บาท เท่านั้น แต่ความแรงเหนือชั้นกับตัวที่ผ่านๆมา


        มาพร้อมกับ 4.2.2 ในตัวเลย มีแต่กล้องหลังอันจิ๋วๆ


        ที่แนะนำมาจะเป็นรุ่นยุคใหม่ ทีนี้มารุ่นยุคเก่ากันบ้าง โดยจะเป็นรุ่นที่อัพเกรดได้แค่ 2.3.6 หรือ 2.3.7 เท่านั้น

        Samsung Galaxy Y ตัวนี้ทำยอดขายดีมากสำหรับเครื่องเล็กๆ จึงมีคนใช้เยอะพอสมควร มากกว่า Samsung Galaxy Mini เสียอีก ตอนนี้หาซื้อมือหนึ่งไม่ได้แล้วล่ะ แต่ถ้ามือสองประมาณ 1,500 บาท


        เป็นสเปคที่เล็กและอัตคัตมากมาย แต่ถึงกระนั้นก็มีคนใช้อยู่นะ


        หรือเปลี่ยนมาเป็น Samsung Galaxy Cooper แทนก็ได้ หรือที่ต่างประเทศเค้าเรียกกันว่า Samsung Galaxy Ace น่ะแหละ ราคามือสองอยู่ที่ประมาณ 2,500 บาท เคยนิยมเหมือนกัน


        ข้อดีคือจอใหญ่กว่าและกล้องหลังมีแฟลช LED ให้ด้วย

        สำหรับหัวข้อนี้เจ้าของบล็อกใช้ Samsung Galaxy Gio ซึ่งเป็นเครื่องแรกสุดที่เจ้าของบล็อกซื้อมาใช้เมื่อก่อน สเปคเท่ากับ Samsung Galaxy Cooper ทั้งหมด แต่กล้องด้อยกว่า และหน้าจอเล็กกว่าหน่อย



        กรณีที่เครื่องประจำตัวเป็นเครื่องในหัวข้อนี้อยู่แล้ว ข้ามไปได้เลย
        สำหรับ Tablet 10 นิ้ว เปรียบเสมือน Entertainer ประจำกาย มีไว้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ผ่อนคลายต่างๆนานาซะมากกว่า จึงให้ความสำคัญเป็นอันดับสุดท้ายนั่นเอง

        เริ่มจาก Samsung Nexus 10 (เริ่มจากตัวหายากก่อนนี่แหละ) เป็น Tablet 10 นิ้วที่เจ้าของบล็อกรู้สึกว่า ถ้าหาซื้อได้ก็แนะนำ เพราะสเปคโดยรวมดีมากถึงมากที่สุด การทำงานครบครันหมด โดยราคาตอนนี้เครื่องศูนย์ 16 GB WiFi อยู่ที่ 7,900 บาท ขายกันมือสองก็ประมาณ 5,500 - 6,500 บาท


        เป็น Tablet 10 นิ้วที่คุ้มที่สุดก็ว่าได้เลยล่ะ ทั้งราคาที่ถูกกว่าตัวอื่น แต่คุณภาพสูงกว่าตัวอื่นเช่นกัน


        อีกทางเลือกก็จะเป็น Samsung Galaxy Tab 2 10.1 ที่สเปคดรอปลงมาค่อยข้างเยอะพอสมควร แต่ราคามือสองจะอยู่ที่ประมาณ 8,000 บาทเท่านั้น


        ที่ไม่แนะนำ Samsung Galaxy Tab 3 10.1 เพราะว่าไม่คุ้มราคา เพราะสเปคทั้งสองรุ่นนี้ต่างกันไม่มาก แต่ราคาต่างกันเท่าตัว และอย่าลืมว่าเจ้าของบล็อกถือคอนเซปต์ว่า ถูกแต่คุ้ม


        หรือจะลองดู Lenovo Idea Tab S6000 ก็ได้เช่นกัน คุณสมบัติโดยร่วมใกล้เคียงกับตัวบนยิ่งนัก แต่ที่เลือกมาแนะนำเพราะว่าราคา 9,990 บาท



        การทำงานโดยรวมใช้ได้ดี แถมมีอัพเกรดจาก ASUS ตลอด

        เจ้าของบล็อกใช้ Samsung Nexus 10
        .
        .
        .
        .
        .
        ครบหมดล่ะกับทางเลือกของเครื่องแต่ละหัวข้อ ลองสรุปกันดูกับเครื่องที่เจ้าของบล็อกมีอยู่กันบ้าง

        Phone Low-end
                Samsung Galaxy Gio ราคาตอนนี้ก็ประมาณ 2,000 บาท

        Phone Hi-end
                Motorola Moto X ราคาตอนซื้อใหม่ๆ 13,900 บาท

        Tablet 7
                Asus Nexus 7 (2012) มือสอง 1,000 บาท

        Tablet 10
                Samsung Nexus 10 ซื้อมา 12,000 บาท

        พอลองรวมราคาดูแล้วทั้งหมดก็แค่ 28,900 บาท เท่านั้น

        ส่วนผู้ที่หลงเข้ามาอ่านจะเลือกแบบไหนยังไงก็ตัดสินใจให้ดีๆ ว่าแบบไหนควรซื้อ และจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องซื้อ ไม่จำเป็นว่าต้องซื้อตัว Top มาใช้ แต่เน้นที่ครอบคลุมก็พอแล้ว เพราะบางทีลองมาพิจารณาดูแล้ว เครื่อง Top หนึ่งเครื่อง ถ้าเลือกซื้อดีๆแล้วสามารถซื้อเครื่องอื่นได้สองเครื่องเลย




        ทำไมถึงไม่มี Phone ระดับปานกลางและ Phone ระดับสูง? ในแง่ของการพัฒนาแอปพลิเคชันให้รองรับหน้าจอหลายขนาด ผู้ที่หลงเข้ามาอ่านอาจจะเข้าใจว่า ต้องซื้อเครื่องหน้าจอหลายขนาด เพื่อม ทดสอบว่าแอปสามารถทำงานบนหน้าจอนั้นๆได้พอดีหรือไม่ ซึ่งความจริงแล้วไม่จำเป็นเลย ถ้าเข้าใจเรื่องหน้าจอจริงๆ ก็จะรู้ได้เองว่า ไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องทุกขนาดหน้าจอก็ทำได้

        [Android Design] ว่าด้วยเรื่อง Size และ Density ของหน้าจอ

        [Android Design] แท้จริงแล้วหน่วย dp คืออะไร?

ถ้าได้ลองศึกษาจากบทความที่ให้ไปนี้จนเข้าใจ ก็จะรู้ว่า หน้าจอขนาด normal-xhdpi ก็เพียงพอแล้ว  เพราะเวลาออกแบบหน้าจอจะมองเป็นหน่วย DP ซึ่งขนาด normal-hdpi และ normal-xxhdpi คำนวณเป็น DP ค่าที่ได้ออกมาก็มีค่าเท่ากับหรือใกล้เคียงกับ normal-xhdpi เลย

        ดังนั้นหัวใจสำคัญก็จะไปอยู่ที่วิธีการออกแบบ Layout แทน ถ้าออกแบบได้ดีพอก็จะสามารถรองรับกับขนาดใกล้เคียงได้

        แต่ที่ให้ซื้อเครื่องเล็กด้วยเพราะว่า Ratio หน้าจอเป็น 4 : 3 ต่างจากเครื่องที่สูงกว่านั้นที่นิยมใช้เป็น 16 : 9 หรือ 16 : 10 ดังนั้นการออกแบบหน้าจอบนจอที่ Ratio ต่างกันจะยาก และหน้าจอ Ratio 4 : 3 ก็จะมีแต่พวกเครื่องเล็กๆเท่านั้น ซึ่งมีราคาไม่แพง จึงให้ซื้อไว้ทดสอบก็เหมาะสมดี

        และ Tabet 7 กับ Tablet 10 ก็ใช้แนวคิดแบบนี้เช่นกัน ซึ่งความแตกต่างระหว่างหน้าจอบน Tablet จะน้อยกว่า Phone มาก



        คำถามนี้ผู้ที่หลงเข้ามาอ่านน้อยคนจะลองนึกดู เป็นที่แน่ชัดอยู่แล้วว่า ซื้อมาทดสอบทั้งที ก็ต้องซื้อเครื่องที่รองรับได้มากที่สุดสิ

        ก่อนอื่นเจ้าของบล็อกขอตอบเกริ่นก่อนว่า "ใช่ และก็ไม่ใช่"

        เพราะสิ่งหนึ่งที่ผู้ที่หลงเข้ามาอ่านมักจะลืมกันไปโดยไม่รู้ตัวก็คือ ผู้ใช้บนโลกนี้ไม่ได้ใช้เครื่องเหมือนกับเครื่องที่ใช้ทดสอบ ผู้ที่หลงเข้ามาอ่านหลายๆคนหลงไปกับการที่คิดว่า อยากให้แอพทำงานได้ดี ถ้าใช้เครื่องนั้นๆน่าจะเหมาะ แต่เอาเข้าจริงแล้วไม่ได้นึกว่าผู้ใช้ไม่ได้ใช้เครื่องนั้นทุกคน

        ในบางครั้งการมีเครื่องสำหรับทดสอบที่ฮาร์ดแวร์ไม่ครอบคลุมมันก็ดี เพราะเวลาทดสอบจะเกิดเออเรอหรือบั๊กขึ้นเพราะฮาร์ดแวร์ไม่รองรับ อย่างเช่นเครื่องที่มีแต่กล้องหน้า ไม่มีกล้องหลังเป็นต้น ในการเขียนแอปพลิเคชันกล้องนั้น เวลาเขียนติดต่อกล้อง อาจจะเป็นปัญหาดังกล่าวได้กับเครื่องเหล่านี้ ดังนั้นถ้ามีเครื่องที่ไม่ได้มีฮาร์ดแวร์ครอบคลุมไว้ทดสอบ ก็สามารถทำให้เจอบั๊ก ณ จุดนี้และทำการแก้ไขให้ถูกต้องได้

        ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้องของคำถามนี้ก็น่าจะเป็น "ควรมีเครื่องที่ฮาร์ดแวร์ครอบคลุมอย่างน้อยหนึ่งเครื่องและเครื่องที่ฮาร์ดแวร์ไม่ครอบคลุมอย่างน้อยหนึ่งเครื่องด้วย"