18 January 2015

รู้จักการใช้งาน Android Studio แบบพื้นฐาน - ตอนที่ 1

Updated on


        หลังจาก Android Studio ได้ Release ออกมา เจ้าของบล็อกก็ได้เมามันไปกับมันพอสมควรเพื่อรวบรวมข้อมูลในการทำบทความ จนกระทั่งลืมไปว่ามีผู้ที่หลงเข้ามาอ่านหลายๆท่านนั้นได้เริ่มต้นเขียนแอนดรอยด์อยู่พอสมควรและลองใช้ Android Studio จึงทำให้เกิดความสับสนเพราะว่าบทความพื้นฐานส่วนใหญ่นั้นยังเป็นของ Eclipse ADT อยู่ ดังนั้นเจ้าของบล็อกจึงขอทำบทความอธิบายเจ้า Android Studio ซักหน่อย

        หมายเหตุ - หน้าต่างของผู้ที่หลงเข้ามาอ่านอาจจะมีสีขาว ไม่เหมือนกับเจ้าของบล็อกนะครับ เพราะเจ้าของบล็อกกำหนด Theme ของโปรแกรมเป็นโทรสีดำ

        หมายเหตุ 2 - Android Studio นั้นมีการอัพเดทเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ดังนั้นในเวอร์ชันที่ใหม่ๆกว่าอาจจะมีบางอย่างแตกต่างไปจากบทความนี้ (ก็จะพยายามมาอัพเดทให้เรื่อยๆ ถ้าไม่ลืม)

        เมื่อเปิดใช้งาน Android Studio ครั้งแรกก็จะเจอกับหน้าต่างแบบนี้


        1. Recent Projects โปรเจคที่เคยเปิดบน Android Studio จะถูกแสดงบนนี้เพื่อให้สามารถเลือกเปิดได้ทันที

        2. Quick Start แถบเมนูเริ่มต้นสำหรับ Android Studio ที่จะให้เลือกว่าจะทำอะไรบน Android Studio ซึ่งจะประกอบไปด้วย



        1. Start a new Android Studio Project สร้างโปรเจคขึ้นมาใหม่
        2. Open an existing Android Studio project เปิดโปรแกรมที่มีอยู่แล้ว
        3. Import an Android code sample ดาวน์โหลดโค๊ดตัวอย่างของแอนดรอยด์จาก GitHub



        4. Check out project from Version Control ดึงโปรเจคมาจาก Version Control โดยจะมีให้เลือกว่าจะดึงจาก Version Control แบบไหน



        5. Import Non-Android Studio project นำโปรเจคจาก Eclipse ADT เข้ามาใน Android Studio
        6. Configure การตั้งค่าต่างๆ
        7. Docs and How-Tos เอกสารข้อมูลต่างๆสำหรับการใช้งาน


        สำหรับเมนู Configure ก็จะมีหน้าต่างย่อยอีกดังนี้


        1. SDK Manager เปิด Android SDK Manager



        2. Settings เปิดหน้าต่างตั้งค่า Android Studio



        3. Plugins เปิดหน้าต่างจัดการกับ Plugins ที่ติดตั้งไว้ใน IntelliJ IDEA



        4. Import Settings เนื่องจาก Android Studio สามารถบันทึกการตั้งค่าต่างๆในโปรแกรมได้เยอะมาก จึงสามารถเก็บเป็นไฟล์เพื่อนำไปกำหนดค่าบนเครื่องอื่นๆได้นั่นเอง



        5. Export Settings ทำการ Export การตั้งค่าต่างๆใน Android Studio เป็นไฟล์ .jar



        6. Project Defaults การตั้งค่าเกี่ยวกับโปรเจค

        โดยที่ Project Defaults จะมีการเมนูย่อยอีกดังนี้



        1. Settings เป็นการเปิดหน้าต่าง Settings ที่จะเลือกไปที่ Version Control ให้โดยอัตโนมัติ



        2. Project Structure เป็นการเปิดหน้าต่างตั้งค่าสำหรับโปรเจคนั้นๆ เช่น Path ของ Android SDK หรือ Path ของ JDK



        3. Run Configuration ตั้งค่าการ Run หรือ Debug โปรเจค



        ทีนี้มาดูเมนูย่อยของ Docs na How-Tos กันต่อบ้าง


        1. Read Help เปิดหน้า Help บนเว็ปของ IntelliJ IDEA



        2. Tips of the Day เคล็ดลับและเทคนิครายวันเกี่ยวกับการใช้งาน IntelliJ IDEA



        3. Default Keymap Reference เปิดหน้าเว็ป IntelliJ IDEA เพื่อแสดงรายชื่อคีย์ลัดทั้งหมดของ IntelliJ IDEA



        4. JetBrain TV เปิด YouTube Channel ของ JetBrain ที่เป็นทีมพัฒนา IntelliJ IDEA



        5. Plugin Development เปิดหน้าเว็ปบน IntelliJ IDEA เพื่ออธิบายเกี่ยวกับปลั๊กอินในโปรแกรม